สนาม: ข่าว Guohua
บทนำ: เสี่ยมืด-สุระ เตชะทัต โฆษกพรรคพลังชล ไม่ค่อยเห็นตามหน้าข่าวหนังสือพิมพ์ แต่ไม่ได้หายหน้าไปไหน ไปทำงานชาวบ้าน ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เพิ่งไปร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกันของผู้นำชุมชนท้องถิ่น เต็มไปด้วยสมาชิก อบต ผู้นำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เห็นว่ามีการแลกเปลี่ยนกันอย่างกว้างขวาง ทั้งปัญหาในชุมชน ท้องถิ่น ปัญหาด้านการเกษตร การศึกษา แหล่งน้ำ ไปจนปัญหาสังคมในชุมชน เดอะมืด ในฐานะคนการเมือง เลยถูกเชิญไปพูดคุยแลกเปลี่ยนด้วย เลยร่ายเป็นฉากๆ ที่ชาวบ้านอยากกลับมาเลี้ยงพร้อมกับอนุรักษ์ควายไทยนั้น ที่ชาวบ้านอยากทำเป็นเรื่องดี แต่วันนี้พื้นที่แถววังน้ำเขียว ก็เห็นอยู่ หลายพื้นที่ถูกจับจองไปเกือบหมดแล้ว จะให้ควายไปกินหญ้า กินพืช ก็หวั่นอีกว่าพวกหญ้าเต็มไปด้วยยาฆ่าแมลงหรือเปล่า ไม่เฉพาะสัตว์ที่กินไปแล้วน่าจะเป็นอันตราย ตอนฝนตกชะล้างไหลลงบ่อน้ำ แหล่งน้ำทำกินของเกษตรกร ชาวบ้านก็เป็นอุปสรรค เดือดร้อนกันอีก แล้วเราจะทำอย่างไร ขอให้ร่วมแลกเปลี่ยนกัน เรื่องการศึกษาวันนี้เราจะทำอย่างไร คนมีเงินก็ส่งลูกหลานไปเรียนโรงเรียนดีๆ และอุปกรณ์ เครื่องมือการสอน การสื่อสาร ตามโรงเรียนข้างนอก ก็ไม่เท่าเทียมกัน เรื่องนี้จะทำอย่างไร สุระพูดยาวตามประสานักจ้อ หนึ่งในสมาชิกที่มาฟัง จังหวะจะแลกเปลี่ยนต่อ เลยเอ่ยแซว แหมท่านโฆษกฯ ข้อมูลดีเยี่ยม แต่ไม่รู้อย่างเดียว วันนี้ลูกเมียไปอยู่ไหน เดอะมืด เลยบอกอย่างอารมณ์ดี พอแลกเปลี่ยนกันจบ มีสมาชิกบางคนมาถาม ท่านๆ ตกลงลูกเมียท่านไปอยู่ไหน เมียพาลูกหนี เขาหนีไปหรือ ไอ้เราเลยต้องบอกลูกเมียอยู่ไหน หมายถึงผมยังไม่มีลูกไม่มีเมีย ไม่ได้ว่าเขาหนีไป ไขความกระจ่าง ทำให้เข้าใจตรงกัน ไม่อย่างนั้นถูกเข้าใจผิด ท่านโฆษกฯ ลูกเมียหนีไปแล้ว แย่เลย(ฮ่าๆ) ...
สนาม:
บทนำ: ใครว่าโกงลดลง! พีดับเบิ้ลยูซีเผยผลสำรวจอาชญากรรมและทุจริต พบว่าบริษัทในไทยกว่า 48% เป็นเหยื่อการทุจริตและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สูงกว่าปี 59 ที่อยู่ที่ 26% ยักยอกทรัพย์มาเป็นอันดับ 1 สะท้อนการป้องกันมีช่องโหว่ ด้านประธานปปชตั้งเป้าหรู ค่า CPI ไทยต้องได้มากกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2564 หากไม่ได้อาจต้องรับผิดชอบ แต่พอถาม นาฬิกาป้อม คำตอบคือยังไม่ได้รับรายงาน นายวรพงษ์ สุธานนท์ หุ้นส่วนสายงาน ฟอร์เรนซิค เซอร์วิส บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส ประเทศไทย (พีดับเบิ้ลยูซี) เปิดเผยผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริตประเทศไทย ปี 61 ที่จัดทำขึ้นทุก 2 ปี จากผู้ตอบแบบสอบถาม 522 ราย ทั้งบริษัทจดทะเบียน (บจ) บริษัทเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ พบว่า บริษัทในไทยกว่า 48% เป็นเหยื่อการทุจริตและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ สูงกว่าปี 59 ที่อยู่ที่ 26% โดยพบว่าการยักยอกสินทรัพย์ยังเป็นการทุจริตที่พบมากที่สุด คิดเป็น 62% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ 45%, การประพฤติผิดทางธุรกิจของไทย คิดเป็น 40% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วโลกที่ 28% และคาดว่าอีก 2 ปีข้างหน้า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จะกลายเป็นอาชญากรรมที่ส่งผลกระทบร้ายแรงที่สุด ทั้งนี้ มีบริษัทส่วนน้อยเท่านั้นยอมรับว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กร สะท้อนให้เห็นว่านโยบายป้องกันการทุจริตในองค์กรยังมีช่องโหว่ กลายเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้มีการแสวงหาประโยชน์จากความไม่ชัดเจนของนโยบายดังกล่าว โดยตัวเลขที่สูงขึ้น แม้จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อทุกประเทศและทุกภาคอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ ด้วยวิธีการที่ซับซ้อน ทำให้ตรวจจับได้ยาก แต่ถือว่าเป็นสัญญาณบวกของประเทศไทย หากทุกองค์กรในประเทศไทยเริ่มตระหนักถึงความเสี่ยงด้านการทุจริตและตรวจพบเหตุทุจริตได้เพิ่มขึ้น สำหรับผลการสำรวจครั้งนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นแค่การทุจริตที่ตรวจพบได้เท่านั้น แต่ช่วยให้บริษัทเห็นถึงจุดบอดที่มีการทุจริตซ่อนอยู่ เพื่อป้องกันการทุจริตในองค์กร และกว่า 71% ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่าบริษัทพยายามปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในระดับปานกลางถึงระดับมาก เพื่อป้องกันการทุจริตหรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดจากคนภายในองค์กร โดยมีเพียง 23% ที่มองว่าบริษัทให้ความสำคัญมากกับการยกระดับมาตรฐานจริยธรรมของพนักงาน แม้กว่า 70% ของการทุจริตร้ายแรงสร้างความเสียหายทางการเงินให้กับองค์กรจะมาจากพนักงานก็ตาม โดยทุกบริษัทต้องจัดการควบคุมและป้องกัน ผ่านการพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ และลงทุนในเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ จะช่วยลดความเสี่ยงการทุจริตมีประสิทธิภาพมากขึ้น นายศิระ อินทรกำธรชัย ประธานกรรมการบริหาร และหุ้นส่วน พีดับเบิ้ลยูซี ประเทศไทย กล่าวว่า ผลสำรวจดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทในประเทศไทยมีความเข้าใจถึงผลกระทบของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ที่มีต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในเวทีโลก และความสามารถในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติมากขึ้นกว่าในอดีต โดยทุกภาคส่วนมีการหารือกันในเรื่องการแก้ไขปัญหาการทุจริตมากขึ้น เนื่องจากจะเป็นผลดีต่อการดำเนินธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ที่โรงแรมเซ็นทราบายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช) จัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับชาติ หัวข้อ การผลักดันยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สู่ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต โดย พลตอวัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการ ปปช กล่าวว่า เราตั้งเป้าว่าประเทศไทยต้องเพิ่มระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ให้ได้มากกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2564 โดยผลักดันด้วย 6 ยุทธศาสตร์ คือ สร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต, ยกระดับเจตจำนงทางการเมืองในการต่อต้านทุจริต, สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย, พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก, ปฏิรูปกลไกและกระบวนการการปราบปรามการทุจริต, ยกระดับคะแนนค่า CPI ของประเทศไทย ทั้งนี้ ปปชจะต้องผสานพลังกับทุกหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันให้ยุทธศาสตร์ฯ บรรลุเป้าหมายคือสร้างสังคมใสสะอาดยิ่งขึ้น ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดสัมมนา พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง การผสานพลังสร้างประเทศไทยใสสะอาด ตอนหนึ่งว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีค่า CPI อยู่ที่ 37 คะแนน เราจำเป็นต้องทะยานขึ้นไปให้ได้คะแนนมากกว่านี้ โดยรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตั้งเป้าว่า ปี 2564 ค่า CPI ของไทยควรจะอยู่ที่ 50 คะแนน สูงกว่านั้นยิ่งดี การทุจริตคอร์รัปชันเป็นภัยที่เกิดจากปัจจัยภายในของเราเอง เหมือนสนิมเหล็ก ถ้าประเทศชาติคือเหล็ก สนิมอันดับแรกอาจจะเป็นการแตกแยกความสามัคคี และสนิมอันดับสองก็คือการทุจริต ซึ่งในที่สุดเหล็กก็จะกร่อนไปประเทศก็จะพังทลาย จึงมีความจำเป็นที่จะกำจัดสนิม รองนายกฯ กล่าวว่า การจะปลูกจิตสำนึกให้คนไม่ทนต่อการทุจริตได้นั้นเป็นเรื่องยาก โดยจะต้องอดทน และเราควรมีความเพียรที่มีกลยุทธ์ มีวิธีการที่ชาญฉลาด เหมือนพระมหาชนก เหมือนการช่วยเหลือหมูป่า 13 ชีวิต แต่หากเราท้อแท้ ถดถอย ก็ไม่มีโอกาสสำเร็จ หากเราอดทน งานก็จะสัมฤทธิผล เรื่องนี้เป็นความเดือดร้อนของคนทั้งชาติ ดังนั้นจึงอยากให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ขณะที่ พลตอวัชรพลกล่าวว่า การจะให้ได้ค่า CPI อยู่ที่ 50 คะแนนในปี 2564 นั้น เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่หากในปี 2564 ค่า CPI ไม่เป็นไปตามเป้า ตนอาจจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งวันนี้คิดว่าประชาชนคนไทยเริ่มตื่นรู้เรื่องการทุจริตมากขึ้น และจะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เชื่อว่าจะเป็นระลอกคลื่นที่มีพลังมากยิ่งขึ้น โดยจะมีการตั้งชมรม STRONG ในทุกจังหวัด จังหวัดละ 100 คน เพื่อทำกิจกรรมรณรงค์ต้านการทุจริตในพื้นที่ เขากล่าวว่า การยื่นบัญชีทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมายใหม่นั้น เจ้าหน้าที่ ปปชจะเป็นหน่วยงานแรกที่ยื่นผ่านอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงคู่สมรสที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก็จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินด้วย พลตอวัชรพลยังให้สัมภาษณ์กรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ถูกกล่าวหากรณีทุจริตโครงการก่อสร้างโรงพักทดแทนและแฟลตตำรวจ เฟซบุ๊กไลฟ์เปิดเผยข้อมูลที่ได้ชี้แจงต่อ ปปชเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ให้ประชาชนได้รับทราบ ว่าเป็นความต้องการของผู้ถูกกล่าวหาที่พยายามจะสื่อสารออกไป แต่กรรมการ ปปชยืนยันว่า เราวินิจฉัยตามข้อเท็จจริง ซึ่งเราไม่ได้มองว่าถูกดิสเครดิต หากเห็นว่ามีประเด็นที่กระทบต่อการทำงานของ ปปช ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรับมาวินิจฉัย ประธาน ปปชกล่าวถึงความคืบหน้าการแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีนาฬิกาหรูของ พลอประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมวกลาโหม ว่ายังไม่ได้รับรายงานความคืบหน้า เรื่องนี้จะต้องถามเลขาฯปปช ล่าสุดทราบเพียงว่ามีการส่งหนังสือไปขอข้อมูลกับบริษัทนาฬิกาที่ต่างประเทศผ่านสถานทูตไทย เรื่องนี้จะจบได้เมื่อไหร ก็ขึ้นอยู่กับคำตอบที่ได้รับ และการวินิจฉัยของกรรมการ ปปช ด้านนายวรวิทย์ สุขบุญ เลขาฯ ปปช กล่าวว่า บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาในต่างประเทศยังไม่ได้ส่งรายละเอียดนาฬิกาที่ขอไปมาให้เราแต่อย่างใด และต้องยอมรับว่าการขอข้อมูลจากต่างประเทศนั้นมักจะล่าช้า และไม่สามารถกำหนดเงื่อนไขเรื่องเวลากับทางบริษัทนาฬิกาได้ แต่ ปปชคาดการณ์ว่าภายใน 2 เดือนนับจากนี้ ผลการตรวจสอบจะชัดเจนมากขึ้น จนอาจนำไปสู่การสรุปสำนวนและชี้แจงให้สาธารณชนทราบได้ วันเดียวกันนี้ นายสุเทพไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กอีกครั้งกรณีที่คณะอนุกรรมการไต่สวนของ ปปชอ้างหนังสือของสำนักงบประมาณ ฉบับวันที่ 27 พย2551 ว่า หนังสือสำนักงบฯ ดังกล่าวพูดถึงแผนการใช้งบประมาณก่อสร้าง และไม่มีส่วนใดที่พูดถึงวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง แต่คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ นำไปอ้างว่า สำนักงบฯ ให้ความเห็นต้องจัดซื้อจัดจ้างด้วยการกระจายไปยังหน่วยงานในสังกัด สตช ตามพื้นที่ที่จะทำการก่อสร้าง ฉะนั้นต้องปฏิบัติตามมติ ครม แต่เมื่อตนได้อนุมัติให้ทำแบบสัญญาฉบับเดียว จึงถือว่าฝ่าฝืนมติ ครม ถ้าใครอ่านหนังสือราชการก็เข้าใจ ไม่ซับซ้อนอะไร แต่อนุกรรมการ ปปชอุตส่าห์เอาประเด็นนี้มาตั้งเป็นข้อกล่าวหาผมว่ามติ ครมให้ทำตามสำนักงบฯ สำนักงบฯ มีความเห็นเรื่องวิธีการจัดจ้างเอาไว้ เพราะฉะนั้นผมต้องดำเนินการตามวิธีจัดจ้างตามสำนักงบฯ นายสุเทพกล่าว นายสุเทพกล่าวอีกว่า ตนได้นำหนังสือของสำนักงบฯ ฉบับดังกล่าวไปแสดงต่อคณะกรรมการ ปปชชุดใหญ่ และชี้แจงว่าส่วนแรกของหนังสือเป็นข้อความที่เท้าความเดิมว่าโครงการนี้เป็นมาอย่างไร ใครคิดอย่างไร และบอกด้วยว่าสำนักงบฯ มีหน้าที่พิจารณาเฉพาะเรื่องวงเงินงบประมาณจะใช้ในโครงการเท่านั้น
ลิงค์ที่เป็นมิตรเวลาปัจจุบัน:2021-02-27